โลหะที่นำมาใช้ทำการเชื่อมอาจมีรูปร่าง ขนาดและความหนาที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเชื่อมจึง
จำเป็นต้องใช้เทคนิควิธีการแตกต่างกันดังนี้
 
5.2.1 เทคนิคการเชื่อมแบบฟอร์แฮนด์ (Fore Hand)
เทคนิคการเชื่อมแบบนี้เป็นการควบคุมเปลวไฟให้พุ่งไปในทิศทางเดียวกันกับ
ทิศทางของการเชื่อม โดยที่ลวดเดินนำหน้าเปลวไฟ เทคนิคการเชื่อมวิธีนี้จะสูญเสียความร้อนไป
บางส่วนเนื่องจากความร้อนสะท้อนออกไปจากผิวหน้าของงาน ปริมาณความร้อนไปบางส่วน
เนื่องจากความร้อนสะท้อนออกไปจากผิวหน้าของงาน ปริมาณความร้อนที่สัมผัสบ่อหลอมละลาย
จะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับการควบคุมหัวทิพให้ทำมุมกับชิ้นงาน ถ้าถือให้หัวทิพทำมุมกับ
ชิ้นงานน้อย ความร้อนจะสะท้อนออกไปมากปริมาณความร้อนที่สัมผัสบ่อหลอมละลายจะเหลือ
น้อยเทคนิคการเชื่อมแบบนี้เหมาะสำหรับเชื่อมชิ้นงานที่มีความหนาไม่มากนัก มีความหนาไม่เกิน
6 มิลลิเมตร (¼ นิ้ว) ดังแสดงในรูปที่ 5.9
 
5.2.2 เทคนิคการเชื่อมแบบแบ๊กแฮนด์ (Back Hand)
เทคนิคการเชื่อมนี้ เป็นการควบคุมเปลวไฟสวนทางกับทิศทางของการเชื่อมโดยที่
เปลวไฟนำหน้าลวดเชื่อม จากรูปที่ 5.17 จะเห็นว่าเปลวไฟพุ่งเข้าหาแนวเชื่อมทำให้แนวเชื่อมได้รับ
ปริมาณความร้อนเต็มที่ จึงทำให้การหลอมละลายลึกดี เหมาะสำหรับทำการเชื่อมชิ้นงานที่มีความ
หนาได้ดี มีความหนาตั้งแต่ 6 มิลลิเมตร (¼ นิ้ว) ขึ้นไป ดังแสดงรูปที่ 5.10
 
การถือหัวทิพทำมุมกับชิ้นงานในการเชื่อมท่าราบ
ในการเชื่อมแก๊สท่าราบ ผู้ปฏิบัติงานเชื่อมควรถือให้หัวทิพ (Tip) ทำมุมกับผิวหน้าของ
ชิ้นงานประมาณ 45 – 60 องศา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นงาน โดยให้บริเวณส่วนปลายของ
กรวยไฟอยู่ห่างจากบ่อหลอมละลายประมาณ 3 มิลิเมตร (1/8 นิ้ว) ดังแสดงในรูปที่ 5.11
 
5.2.3 การส่ายหัวทิพ
ในการเชื่อมรอยต่อแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะรอยต่อชนเพื่อให้เกิดการหลอมละลายที่
ดีมีการซึมลึกตลอดความหนาของชิ้นงาน จะต้องทำการส่ายหัวทิพขณะเคลื่อนหัวทิพไปข้างหน้า
ในขณะเดียวกัน ลวดเชื่อมก็ต้องส่ายไปตามหัวทิพนั้นด้วย ดังแสดงในรูปที่ 5.12
 
5.2.4 องค์ประกอบในการเชื่อมแก๊ส
ในการเชื่อมแก๊สเพื่อให้ได้แนวเชื่อมที่ดี สวยงามและมีการหลอมละลายลึกดี
บริเวณรอยต่อที่ทำการเชื่อมมีความแข็งแรงเท่ากับหรือมากกว่าเนื้อของชิ้นงานอง ผู้ที่ทำการเชื่อม
ต้องควบคุมองค์ประกอบในการเชื่อมแก๊สดังนี้
1. ปรับใช้ปริมาณความร้อนให้ถูกต้องกับความหนาของชิ้นงาน
2. ใช้เทคนิคกรเชื่อมที่ถูกต้อง เช่น ทิศทางการเชื่อม ลักษณะการส่ายหัวทิพ และ
การสร้างกุญแจ (Key Hole) ในการเชื่อมต่อชน เป็นต้น
3. ความเร็วในการเคลื่อนหัวทิพต้องเหมาะสม
4. มุมเดินและมุมงานต้องถูกต้อง
5. ระยะห่างระหว่างปลายของกรวยไฟกับผิวหน้างาน
 
5.2.5 ความเร็วในการเคลื่อนหัวทิพ
ความเร็วในการเชื่อมนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเชื่อม
ถ้าเคลื่อนหัวทิพช้าเกินไปจะทำให้ชิ้นงานหลอมละลายมากทำให้เกิดแนวเชื่อมขนาดใหญ่ ถ้าเคลื่อน
หัวทิพเร็วเกินไปจะทำให้หลอมละลายไม่ลึกเพียงพอและได้แนวเชื่อมขนาดเล็ก ดังแสดงใน
รูปที่ 5.14
 
5.2.6 มุมของหัวทิพขณะทำการเชื่อม
ในขณะเชื่อมท่าราบผู้ปฏิบัติงานเชื่อมต้องถือหัวทิพให้ทำมุมกับชิ้นงานประมาณ
45 องศา มุมนี้ต้องรักษาไว้ขณะที่เคลื่อนหัวทิพไปข้างหน้า ถ้าหัวทิพทำมุมมากหรือชันมากเกินไป
จะเกิดการหลอมละลายมากทำให้แนวเชื่อมมีขนาดใหญ่ แต่ถ้าหัวทิพทำมุมน้อยหรือเอนมากเกินไป
ความร้อนสะท้อนออกไปมาก คงเหลือความร้อนที่บ่อหลอมละลายน้อย ทำให้เกิดแนวเชื่อม
ขนาดเล็ก ดังแสดงในรูปที่ 5.15
 
5.2.7 ระยะห่างระหว่างปลายของกรวยไฟกับผิวหน้าของงาน
ระยะห่างระหว่างปลายของกรวยไฟกับผิวหน้าของชิ้นงาน เป็นองค์ประกอบที่
สำคัญมากอีกองค์ประกอบหนึ่ง เพราะถ้าหากว่าควบคุมระยะห่างดังกล่าวไม่ถูกต้องแล้ว จะทำให้
การหลอมละลายของแนวเชื่อมไม่ดี เพราะปริมาณความร้อนไม่เพียงพอ ทำให้แนวเชื่อมไม่แข็งแรง
อาจจะต้องทำการเชื่อมใหม่ หรือต้องทิ้งงานไป ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งระยะห่างที่
เหมาะสมชิ้นงานได้รับปริมาณความร้อนมากและมีอุณหภูมิสูงสุดคือ ประมาณ 3 มิลลิเมตร
ดังแสดงในรูปที่ 5.16
 
5.2.8 การเลือกขนาดของหัวทิพเชื่อมให้เหมาะสมกับความหนาของชิ้นงาน
การเชื่อม ผู้ปฏิบัติงานเชื่อมต้องเลือกขนาดของหัวทิพ หรือรูทิพให้มีปริมาณความ
ร้อนเพียงพอต่อความหนาของชิ้นงาน ถ้าหัวทิพมีขนาดใหญ่มากเกินไป นอกจากจะควบคุมการเอม
ได้ยากแล้ว ยังสิ้นเปลืองแก๊สโดยเปล่าประโยชน์ แต่ถ้าหัวทิพเล็กเกินไป จะทำให้ความร้อนไม่
เพียงพอ การหลอมละลายไม่ดี แนวเชื่อมไม่แข็งแรง ตารางที่ 5.1 นี้ จะเป็นแนวทางให้ผู้ปฏิบัติงาน
เชื่อมได้ใช้ในการประมาณการเชื่อมได้ใช้ในการประมาณการเชื่อมได้เป็นอย่างดี